วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษากระต่ายป่วยและโรคต่างๆ

การดูแลรักษากระต่ายป่วย
โรคภัยที่กระต่ายมักจะประสบกันมากต่าง ๆ และวิธีแก้ไขเบื้องต้น


1. โรคท้องเสีย สาเหตุของกระต่ายท้องเสียมีหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากที่พบก็คือ จากการกิน ในบางครั้งเจ้าของกระต่าย หาอาหารหรือนำผักผลไม้ที่อวบน้ำให้กระต่ายกินเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น แอปเปิ้ล แตงกวา บางครั้งให้กินเป็นจำนวนหลาย ๆ ลูก ซึ่งทำให้กระต่ายมีน้ำในท้องเยอะ ส่งผลให้กระต่ายท้องขึ้นและท้องเสีย และการดื่มน้ำดื่มไม่สะอาดพอ ตลอดจนสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย จากอากาศหนาวเย็นไปสู่อากาศร้อนฉับพลัน จะส่งผลให้กระต่ายถ่ายเหลว

- ลักษณะของอาการท้องเสีย กระต่ายจะนอนหมอบแบบหมดแรง และถ่ายเป็นน้ำ หรือในระยะแรกอึกระต่ายจะไม่ค่อยปั้นก้อนแข็งตัว เมื่อจับดูหรือกดก็จะพบว่า อึกระต่ายนิ่มมาก ๆ ถ้าเป็นอาการเริ่มต้นดังกล่าว ให้รีบนำผงเกลือแร่ชนิดซองที่ผสมให้คนดื่ม ผสมน้ำให้กระต่ายดื่ม เพราะกระต่ายจะเริ่มเสียน้ำมาก ๆ ทำให้กระต่ายอ่อนเพลีย และหยุดให้อาหารเม็ดทั้งสิ้น วางไว้เฉพาะหญ้าสดเท่านั้น และรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

- วิธีการรักษาแพทย์จะฉีดยาฆ่าเชื้อ และให้วิตามิน พร้อมกับยาฆ่าเชื้อมาให้ เจ้าของกระต่ายป้อนในปริมาณที่แพทย์กำหนด เช้า – เย็น (หรืออื่น ๆ ตามวินิจฉัยของแพทย์) 


2. โรคท้องอืด สาเหตุ เกิดจากการที่อาหารของกระต่ายกินเข้าไปแล้วกระต่ายไม่ถ่ายออกมา จนทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ และหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน จากอากาศร้อนจัด ๆ ไปอากาศหนาว จะทำให้ลักษณะของลำไส้และกระเพาะของกระต่าย หดรัดตัวไม่ย่อยอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องอืด

- ลักษณะอาการ กระต่ายที่มีอาการท้องอืด จะนอนนิ่ง ๆ ไม่ถ่าย นิ่งซึม ลักษณะคล้าย ๆ อาการของโรค Hair ball และไม่ยอมกินอะไร เมื่อจับบริเวณลำตัวจะพบว่า ท้องแข็ง และตัวพองกลม และตามลำตัวจะมีลักษณะสีเขียว ถ้าพบอาการลักษณะนี้ ให้พยายามเอาผงเกลือแร่ ผสมน้ำป้อนกระต่าย และรีบนำส่งแพทย์ด่วน

- วิธีการรักษาแพทย์จะทำการ ส่งเอ็กซ์เรย์ และฉีดยาฆ่าเชื้อ สวนทวารของกระต่าย ให้น้ำเกลือ และสังเกตการณ์หากเป็นมากก็อาจจะต้องรับตัวไว้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล อ่านเรื่องประกอบ จากลิงค์ อาการท้องอืดของต่อลาภ



3. โรคเชื้อรา สาเหตุเกิดจากความอับชื้น จากบริเวณที่เลี้ยง หรือ เชื้อที่ลอยมาตามอากาศ

- ลักษณะอาการจะมีอาการขนร่วง มากผิดปกติแบบไร้สาเหตุ หรือในบางตัวจะมีความเปียกชื้นบริเวณขนของกระต่ายที่มีขนยาว และมีสีเขียวเข้ม ๆ เป็นต้น กระต่ายจะเกา และถ้าร่วงมาก ๆ จนไม่มีขนบริเวณนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้ออื่นตามมาได้ ให้รีบนำส่งแพทย์

- การรักษา แพทย์จะทำการขูดบริเวณที่มีปัญหาขนร่วง หรือบริเวณที่มีสีเขียว บนขนกระต่าย ไปตรวจ หากเป็นเชื้อรา แพทย์จะให้ยากลุ่ม คีโตคูนาโซล ไม่ว่าจะเป็นแชมพู หรือ ครีม ให้ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง เพราะอาการของเชื้อรา เป็นการรักษาที่ต้องใช้การดูแลต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้นอาจจะต้องใช้ความอดทนเล็กน้อย

4. โรคกลาก เรื้อน สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ และการอักเสบ หรือติดเชื้อที่ลอยมาตามกระแสลมและมาเกาะบริเวณตัวกระต่าย และหรือในบางทฤษฎี บอกว่าเกิดจากพยาธิในตัวกระต่าย ที่แย่งอาหารต่าง ๆ ไปจนทำให้กระต่ายขาดสารอาหารและเป็นแผลตกสะเก็ด (ไม่ขอยืนยัน)

- ลักษณะอาการบริเวณใบหู จมูก หรือ เท้า จะมีลักษณะของการเป็นแผลตกสะเก็ด และกระต่ายจะเกาและคันมาก หากปล่อยไว้นาน ๆ อาการตกสะเก็ดจะลุกลามไปเรื่อย ๆ อาจจะส่งผลให้กระต่ายเสียชีวิตในเวลาต่อมา (อาการดังกล่าวคล้าย ๆ ขี้เรื้อนในสุนัข)

- การรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยเชื้อ และให้ครีมมาทา เช้า – เย็น และให้ยาฆ่าเชื้อมาป้อนประกอบกันเช้าและเย็น ต้องหมั่นและขยันทาครีม ตลอดจนป้อนยาอย่างต่อเนื่อง และแผลตกสะเก็ดจะแห้ง และเมื่อแผลแห้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณผิวหนังของกระต่ายบริเวณที่เป็นกลากหรือเรื้อน จะค่อย ๆ มีขนเข้าปกคลุมแต่อาจต้องใช้เวลาสักระยะ

5. Hair Ball สาเหตุเกิดจากการที่กระต่าย เลียขน (แต่งตัว) เข้าไปเป็นระยะเวลานาน ๆ แล้วไปสะสมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นบริเวณกระเพาะอาหารหรือบริเวณลำไส้ ทำให้กระต่ายไม่ถ่ายหรือถ่ายออกมาเป็นปริมาณที่น้อยมาก ๆ Hair Ball เป็นโรคที่พบได้ในกระต่ายทุกสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นขนสั้นหรือขนยาว

- ลักษณะอาการ ที่ควรหมั่นสังเกตุ อาการเบื้องต้นของกระต่ายที่มีลักษณะของโรคแฮร์บอล ให้สังเกตุที่อึของกระต่าย หากอึมีลักษณะของเส้นขนที่ร้อยอึออกมาด้วยลักษณะคล้าย ๆ สร้อยมุก ให้สันนิษฐานว่ากระต่ายมีอาการของโรคแฮร์บอล

- วิธีการรักษาเบื้องต้น ให้หาเจล Laxatone มาป้อนให้กระต่ายกิน ส่วนที่พอเหมาะ ประมาณ 1 CC ต่อ 1 กิโลกรัม หรืออาจจะมากกว่านั้นเล็กน้อย ป้อนเช้าและเย็น และสังเกตอาการว่ากระต่ายถ่ายออกมาได้มากขึ้นหรือไม่ ให้ป้อนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 – 5 วัน หรือ 1 สัปดาห์ แล้วหยุดป้อน และสังเกตอาการต่อหาก อึของกระต่ายที่มีเส้นขนร้อยออกมาหมดไป ก็ให้สบายใจได้ แต่ถ้ายังไม่หมด ถ้าต้องการความสบายใจให้รีบไปปรึกษาแพทย์ดีที่สุด
6.โรคหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ เช่น ลักษณะฟันยื่น

โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยเหลือหรือรักษาได้ตามอาการของกระต่ายที่เป็น เช่นกระต่ายฟันยื่น ก็สามารถพากระต่ายไปตัดฟันออกให้ฟันสบกันพอที่จะให้กระต่าย ไว้ใช้กัดแทะหรือบดเคี้ยวอาหารได้อย่างสะดวก ส่วนปัญหาคอเอียง หรือขาแป ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาทางพันธุกรรมหลัก ๆ เกิดจากการนำกระต่ายที่มีสายเลือดใกล้ชิดกัน เช่น ปู่ ย่า พ่อ แม่ พี่น้อง มาผสมพันธุ์กันเอง หรือก็เป็นปัญหาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาลักษณะผิดปกติดังเช่นที่ผ่านมาได้เช่นกัน


การป้องกันโรค
ทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุดได้แก่
1 เลือกชื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง
2 ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
3 หมั่นตรวจและสังเกตุลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วย ควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ส่าหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษและทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขี้น
4 ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคตื้อยาได้ 


7. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis) 
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ แตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้ 
1.1 หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์ 
1.2 ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที 
1.3 ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ 
การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย 
1.4 อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง 
1.5 มดลูกอัดเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง 




2.สแตฟฟิลโลคอคโคซีส(Staphylococcosis)โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcusaureus)ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้

  
2์.1 ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา 
การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน 

         2.2 เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์ 


2.3 ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า 
การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย 
3. โรคบิด (Coccidiosis) 
เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ 
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้ 
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium ) 

4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด 
อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก 
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน 

5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis)
เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้ 
การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ 

6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia)
เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล 

7. ไรในหู (ear mange or ear canker) 
เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) 
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้น ๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดี ๆ จพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น 
การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอ ๆ 

8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange) 
เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi 
อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู 
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู 

แนะวิธีเลี้ยงกระต่ายอย่างถูกต้อง




แนะวิธีเลี้ยงกระต่ายถูกวิธี เสริมมงคลรับปีเถาะ "ไม่ใช่แค่เลี้ยงง่าย แต่ต้องดูแลให้ดีที่สุด" (โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน)

            ปีนี้เป็น "ปีกระต่ายทอง" ปีมงคลที่คนจำนวนไม่น้อยนิยมมอบกระต่ายเป็นของฝากแก่กัน หลายคนเชื่อว่าจะเป็นสัตว์นำโชคและสามารถเสริมดวงเรื่องโชคลาภ ความรัก ความร่ำรวยได้ ทำให้แหล่งขายกระต่ายแทบทุกแห่งในปีนี้ยอดรายได้ทะยานลิ่วอย่างไม่น่าเชื่อ...

            สำหรับมือใหม่ที่อยากเลี้ยงกระต่าย อย่าคิดเพียงว่าเป็นแค่สัตว์เล็กที่เลี้ยงง่ายเท่านั้น ก่อนนำมาเลี้ยงควรพิจารณาหลายสิ่งหลายอย่างประกอบด้วย เพราะกระต่ายต้องการการดูแลอย่างถูกวิธี อีกทั้งเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิตสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทำให้เขาต้องจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร หรือเบื่อแล้วปล่อยทิ้งขว้างไม่ไยดี คงไม่ใช่เป็นการเสริมดวงแต่จะสร้างบาปกรรมให้กับผู้เลี้ยงมากกว่า....

            วันนี้ สัตวแพทย์หญิง ลลนา เอกธรรมสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการสัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic Pet) โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูกระต่ายอย่างถูกวิธีมาฝากว่า "นอกจากสุนัขและแมวแล้ว กระต่ายถือเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่คนสนใจ สังเกตได้ว่ากลุ่มของคนเลี้ยงกระต่ายมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน และรู้สึกดีที่เห็นคนหันมาเลี้ยงกระต่ายมากขึ้น ความจริงแล้วธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้อายุไม่ยืนนัก อายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงยาก เลี้ยงได้เหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป เพียงแต่ต้องทราบว่าเขาต้องการอาหารและสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะสม"

            "ธรรมชาติของกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แพร่พันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว ออกลูกครอกหนึ่งประมาณ 6-10 ตัว ถ้าไม่ต้องการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ก็ควรทำหมันเสีย ไม่เช่นนั้นภายในหนึ่งปีจะมีจำนวนมากทีเดียว กระต่ายเป็นสัตว์สุภาพ ชอบอยู่เงียบ ๆ เป็นฝูง อาหารส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าและอาหารเม็ด 




            การเลี้ยงควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอาหารหลัก เสริมผักและผลไม้เล็กน้อย การให้หญ้ามีประโยชน์กับกระต่ายมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพและการขับถ่าย ช่วยในการลับฟันตลอดจนป้องกันปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับฟัน นอกจากนี้ในฤดูฝนและหนาวกระต่ายจะเป็นหวัดและปอดบวมง่าย มีปัญหาเรื่องผิวหนัง ความอับชื้นและเชื้อรา ส่วนฤดูร้อนจะมีปัญหาเรื่อง Heat Stroke หรือการช็อคจากความร้อน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่และดูแลเขาเป็นพิเศษในฤดูกาลต่าง ๆ "

            สัตวแพทย์สาว ยังกล่าวต่อด้วยว่า  ผู้เลี้ยงทั่วไปมักคิดว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่ตายง่าย แค่ตกใจก็ตายแล้ว ความจริงก็ไม่ถึงขนาดนั้น แล้วแต่ตัวมากกว่า เคยมีกระต่ายหลายตัวที่มารับการรักษาทำแผลซึ่งเจ็บมาก แต่ก็ถึงกับไม่ช็อคตาย คงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และลักษณะของภูมิอากาศ ณ จุด ๆ นั้นด้วย เพราะส่วนใหญ่กระต่ายจะช็อคได้ถ้าร้อนมาก ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าอาการช็อคหรือตกใจง่ายจนตายจะเป็นกับกระต่ายทุกตัวเสมอไป

            "อีกอย่างการหิ้วหูกระต่ายเป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะบริเวณหูมีเส้นเลือดเยอะมาก หากไปหิ้วหูจะทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นฉีกขาด หูจะช้ำ การจับที่ถูกต้องคือให้จับบริเวณหนังด้านท้ายทอยและช้อนก้นเพื่อช่วยรองรับน้ำหนัก ส่วนสถานที่เลี้ยงต้องไม่ร้อนจัด ไม่ชื้นแฉะ ลมไม่พัดแรง มีอากาศถ่ายเทสะดวก กรงต้องสะอาดและการให้อาหาร การเปลี่ยนน้ำต้องสะอาดเสมอ สิ่งสำคัญควรปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง จะทำให้เขามีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสและไม่เหงาเกินไป"

            นอกจากนี้ การเลี้ยงกระต่ายควรต้องระวังโรคด้วย เพราะจะมีโรคทั้งที่คนติดจากสัตว์และโรคที่สัตว์เป็นแล้วไม่ติดคน  สำหรับโรคที่พบในกระต่ายส่วนใหญ่ จะมีโรคท้องเสียจากเชื้อบิด ซึ่งจะทำให้หูแดงคัน หรือบิดเบี้ยว โรคติดเชื้อราบริเวณฟันของกระต่าย ฯลฯ สำหรับคนก็สามารถเป็นภูมิแพ้ เช่นแพ้ขนกระต่าย เป็นต้น กรณีที่เลี้ยงกระต่ายร่วมกับสุนัขและแมวควรนำมาฉีดวีคซีนป้องกันพิษสุนขบ้าด้วย ซึ่งการฉีดวัคซีนสามารถทำได้เมื่อกระต่ายอายุ 4 เดือนขึ้นไป หากในบ้านมีเด็กและใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ



            ปัจจุบันกระต่ายมีหลากหลายพันธุ์ให้เลือก การที่จะตัดสินใจเลี้ยงกระต่ายสักตัว ควรเข้าใจถึงธรรมชาติของเขา ศึกษาถึงการดำรงชีวิตและลักษณะและนิสัยของพันธุ์นั้นด้วยว่าเป็นอย่างไร โดยทำความรู้จักให้ดีก่อนรับมันเข้าบ้าน ส่วนการเลือกซื้อกระต่ายควรเลือกเมื่ออายุประมาณหนึ่งเดือนครึ่งขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่หย่านมและเริ่มกินอาหารปกติได้แล้ว จะช่วยลดปัญหาเรื่องเลี้ยงกระต่ายเด็กเกินไปแล้วเสียชีวิต ลักษณะกระต่ายที่ดีคือต้องแจ่มใส ตาไม่ขุ่น ไม่มีขี้ตา ไม่มีน้ำมูก ดูก้นว่าสะอาดไม่เลอะเทอะ ตามตัวไม่มีบาดแผล สะเก็ดหรือขนร่วง อาการขาแป  ฯลฯ เป็นต้น

            สัตวแพทย์ลลนา ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ให้ผู้เลี้ยงควรสังเกตกระต่ายเป็นประจำด้วยว่ามีอาการป่วยเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นไม่ดื่มน้ำ ไม่กินอาหาร ขนร่วง ซึม เป็นแผล มีขี้มูกขี้ตา  บางตัวอาจเป็นไรในหู คือขี้หูรวมตัวเป็นแผ่นหนา ซึ่งกระต่ายจะคันมาก หรือในกรณีที่กระต่ายเป็นตาฝ้า ลูกตามีหนองอยู่ข้างใน หรือมีน้ำตาไหล อาจเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ขนทิ่มตา ท่อน้ำตาตัน ฝุ่นผงควัน ฯลฯ ก็ไม่ควรปล่อยไว้ควรพามาให้สัตวแพทย์ตรวจหาความผิดปกติเพื่อรักษาได้ทันการณ์

            "กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่อง ไร้เดียงสาและน่ารัก ส่วนใหญ่มีชีวิตที่น่าเศร้าเพราะอยู่ในป่ามักเป็นผู้ถูกล่า หรือไม่ก็เป็นสัตว์ทดลองในห้องแล็ป วันนี้กระต่ายอาจกลายเป็นสัตว์นำโชคของมนุษย์โดยไม่รู้ตัว หากเลี้ยงเพื่อเสริมดวงก็ควรดูแลเอาใจใส่เขาอย่างดีที่สุด ทำให้เขามีความสุข ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อเขาจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ"  สัตวแพทย์สาว กล่าวสรุป


สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

            1.ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์

            2.ให้สัมผัสอย่างเบามือ

            3.ทำความความสะอาดบริเวณกรงอย่างสม่ำเสมอ

            4.ควรให้อาหารที่เหมาะสม

            5.ควรให้ถ่ายพยาธิหรือตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง

สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

            1.อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาด

            2.อย่าให้อาหารประเภทขนมที่เป็นแป้ง คาร์โบไฮเดรต เพราะจะเกิดผลเสียกับเขา  

            3.อย่าเลี้ยงกระต่ายเป็นแฟชั่น ให้เลี้ยงเพราะว่าอยากจะเลี้ยง 

            4.อย่าอาบน้ำให้กระต่ายบ่อยเกินไป ประมาณ  3-4 เดือน/ครั้งก็พอ

            5.หากที่บ้านมีแมว ไม่ควรเอาห้องน้ำแมวที่มีสารดับกลิ่นมาใช้กับกระต่าย ควรใช้ขี้เลื่อยหรือหนังสือพิมพ์แทน

กระต่ายน้อย



ลักษณะทั่วไป
     
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ฟันหน้ามีอยู่ 4 ซี่เรียงซ้อนกันเป็น 2 คู่ โดยคู่หลังจะเล็กกว่าคู่หน้า ขาหน้ามี 5 นิ้ว แต่ขาหลังมีเพียง 4 นิ้ว ใต้อุ้งเท้ามีขนยาว และภายในกระพุ้งแก้มมีขนด้วย สำหรับกระต่ายบ้านนั้นมีเท้าสั้น ขนสั้น ลูกกระต่ายบ้านที่คลอดออกมาใหม่ ๆ ตัวแดงและไม่มีขนตาปิด ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายป่า 
       

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบที่ทวีปยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ 
     กระต่ายกินผัก หญ้า และเปลือกไม้เป็นอาหาร 

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
       
     กระต่ายบ้านสามารถผสมพันธุ์ได้บ่อย ตัวเมียตั้งท้องเพียง 1 เดือน ปีหนึ่งจึงสามารถออกลูกได้ 4-8 ครอก ลูกกระต่ายที่มีอายุราว 6-8 สัปดาห์จะแยกจากแม่ได้และมีอายุยืนราว 7-8 ปี 






กระต่าย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ 7 สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไป ในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี แต่ที่พบมากจะเป็นสีอ่อน เช่น สีขาว ชนิด Oryctolagus cuniculus




พันธุ์ของกระต่าย

กระต่าย มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่


 กระต่ายแคระ เช่น เนเธอร์แลนด์ดวอฟ โปลิช ดวอฟโอโท เป็นต้น
กระต่ายขนาดเล็ก ได้แก่ ฮอลแลนด์ลอป อเมริกันฟัซซี่ลอป มินิเร็กซ์ ดัทช์ เป็นต้น
กระต่ายขนาดกลาง เช่น ซาติน แคลิฟอร์เนียน นิวซีแลนด์ไวท์ เป็นต้น
กระต่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ เฟลมมิชไจแอนท์ เฟร้นช์ลอป อิงลิชลอป
เชคเกิร์ตไจแอนท์ เป็นต้น

มือใหม่เพิ่งเลี้ยงกระต่าย มีสิ่งที่ต้องระวังจ้า



มือใหม่เพิ่งเลี้ยงกระต่าย มีสิ่งที่ต้องระวังจ้า

1.อาหารน้อง
กระต่ายอายุยังไม่ถึง 6 เดือน แนะนำให้กินแต่หญ้ากับอาหารเม็ดเท่านั้นนะคะ ระบบย่อยเค้ายังไม่ดี
ถ้ากินอย่างอื่น เสี่ยงต่อท้องเสียมาก
ผัก ถ้ามียาฆ่าแมลงตกค้างนิดเดียว ทำให้เค้าตายได้เลยนะ

มือใหม่หลายคนที่เลี้ยงกระต่ายแล้วตาย 99.99% ตายจากท้องเสีย
ชอบ โทษว่าที่ร้านให้ยากระต่ายบ้างล่ะ ซื้อที่จตุจักร กระต่ายติดเชื้อโรคบ้างล่ะ จริงๆ มันเกิดจากเอาอื่นๆ ที่นอกเหนือจากหญ้ากับอาหารเม็ดให้เค้ากิน
มันไปรบกวนระบบย่อยอาหาร เค้าเลยท้องเสียตาย


2.อาบน้ำ
ไม่แนะนำให้อาบจ้า เพราะ
1.ปกติกระต่ายรักสะอาด เหมือนแมว ไม่ต้องอาบ
2.กระต่ายเซนเซทีฟมากๆ คะ โดยเฉพาะตอนเด็กๆ
- ขนอาจร่วงได้
- แชมพูอาจจะแรงไปสำหรับเค้า
- เป็นหวัด เป็นปอดบวดได้
3.ถ้าจะอาบ ต้อง 6 เดือนขึ้นไป แต่ก็ยังไม่แนะนำอยู่ดี หรือไม่ก็ต้องนานๆที แบบว่าเน่าจริงๆ และต้องเอาไดร์เป่าจนแห้ง
ห้ามใช้แชมพูคน หรือหมา มันแรงไป ต้องใช้แชมพูเด็กทารก หรือแชมพูที่เขียนว่าอาบน้ำกระต่ายได้เท่านั้น

ถ้า สกปรก เดี๋ยวเค้าก็เลียเองคะ แต่ถ้าเน่าแนะนำให้เอาผ้าชุบน้ำเช็ดดีกว่านะคะ ส่วนที่เหลือ เค้าก็เลียตัวเค้าเองแหละคะ กระต่ายรักสะอาดอยู่แล้ว



3.แทะกรง 
ต้อง ปล่อยเค้าวิ่งเล่นนอกกรงทุกวันนะคะ กระต่ายไม่ชอบอยู่ในกรงหรอก สังเกตได้จากเค้าจะกัดกรง หรืออาละวาด แสดงว่าเค้าเครียด อยากออก
ถ้าปล่อยให้เค้าวิ่งทุกวัน แต่ละวันให้วิ่งจนพอใจ พอเอาเข้ากรง เค้าก็จะไม่แทะกรงแล้วจ้า

รู้ได้ไงว่าพอใจ ปล่อยแรกๆ เค้าก็วิ่งๆ ซนๆ ถ้าเริ่มหามุมนอน แสดงว่าเริ่มพอใจแล้ว แต่อย่าเพิ่งใจร้ายจับเข้ากรงทันทีนะ
ให้เค้านอนเล่นอีกซักหน่อย ค่อยจับเค้ากรง

*** ถ้าปล่อยตอนเค้าไม่เครียด เค้าจะไม่ค่อยซนนะ อึฉี่เป็น แต่ถ้าปล่อยตอนเครียด (แทะกรง อาละวาด) พอออกมานะจะซนมากกกกกกก
อึฉี่เรี่ยราด ฉี่ตรงไหนไม่สน แบบว่าขอเล่นก่อน ***



4.ฝึกกระต่ายเข้าห้องน้ำ
นิสัยกระต่าย เค้าฉี่เป็นที่นะ แต่ต้องฝึกให้ถูกที่หน่อยเท่านั้นเอง (แต่อึ ก็แล้วแต่ตัวนะ)

เค้าจะชอบฉี่แถวๆ ที่เค้าเคยฉี่ เช่น ถ้าเค้าเคยเผลอฉี่แถวนี้ เวลาเค้าจะฉี่เค้าก็จะมาที่แถวๆที่เดิม เพราะว่ามัีนมีกลิ่นอยู่ไง
เราต้องเช็ดกลิ่นออกให้หมดนะ โดยเฉพาะแถวที่เราำไม่อยากให้เค้าฉี่อ่ะ ใช้น้ำเปล่าเช็ดไม่หมด ต้องใช้น้ำยา (บางคนก็ใช้เดทตอล)

ให้เอาห้องน้ำไปวางไว้แถวๆ ที่เค้าชอบฉี่
ต่อไปให้เอาทิชชู่เช็ดฉี่ แล้วเอาไปไว้ในห้องน้ำเค้า เอาเค้าไปดม

ถ้าเห็นเค้าทำท่าจะฉี่ หรือเผลอฉี่ ให้รีบอุ้มไปไว้่ที่ห้องน้ำ ไม่ต้องกลัวนะเค้าำไม่ฉี่ใส่เราหรอก อุ้มปุ๊ป ก็หยุดฉี่แล้ว
วางเค้าไว้ที่ห้องน้ำ ก็ลูบๆ เค้าแหละ แบบว่าให้ฉี่เสร็จก่อนถึงปล่อยให้ไปวิ่งเล่น ทำบ่อยๆ เดี๋ยวเค้าก็รู้เอง

เหมือนเดิม ตรงที่เค้า้ฉี่ก็ไปเช็ดให้หมดกลิ่น ถ้ายังฉี่อีก แสดงว่ามีกลิ่น ก็ต้ัองไปเช็ดอีก

ห้องน้ำกระต่าย 170-200 บาท


5.พูด กับเค้าบ่อยๆ นะ เค้ารู้เรื่อง  ปั้ง..
แบบว่าฟังจากน้ำเสียง ลูกเรานะพอซน เราก็เรียกชื่อแบบดุๆ เค้าก็รู้ว่าโดนดุ รีบหนีใหญ่เลย กลัีวโดนจับเข้ากรง
(พอซนทีไรก็จะโดนดุ และจับเข้ากรง)
บางทีลูกเรากำลังซนๆ อยู่ พอเราเดินมา รีบหยุดแล้วทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ประมาณว่าไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ได้ซนนะ แล้วก็ทำเป็นวิ่งไปเล่นที่อื่น (555 แสบไหมล่ะลูกชายเรา)





6.น้ำ
แนะนำให้ใส่ขวด หากใส่ถ้วย เวลาน้องกิน น้ำจะเข้าจมูก น้องจะเป็นหวัดได้


7.ป่วย
น้องป่วยเป็นอะไร ห้ามให้ยากินเองเด็ดขาด และรีบพาไปหาหมอโดยด่วน
อย่าคิดว่าเล็กน้อย ถ้ากระต่ายถึงขั้นชั๊ก ภายใน 5 นาที ก็บ๊ายบายได้เลย
กระต่ายแพ้แอสไพรีน


8.กระต่ายเด็ก หรือไม่กิน ไม่อึ ไม่ฉี่
แนะนำให้ไปซื้อนมแพะที่เป็นกระป๋อง (กระป๋องเท่่านมข้น ราคาประมาณ 70 บาท)
นมที่สำหรับเลี้ยงลูกแมว (เ้ป็นผง ชงเอง)
อุ่นให้ร้อน แต่ทิ้งให้หายร้อนก่อนนะคะ ให้ทดสอบกับหลังมือว่าร้อนไปไหม

 เว๋อ.. ห้ามใช้นมวัวเด็ดขาด กระต่ายจะท้องเสีย
ใช้ดรอปเปอร์ป้อน(อันละ 10 บาท)

อุ้มแบบเด็กกินนมอ่ะจ้า
แรกๆ ต้องบังคับกิน พอผ่านไปสัก 2 วันนะ ดูดไม่ปล่อยเลย

อาหารก็ไว้ในกรง ลองสังเกตดูว่าเค้าเริ่มกินก็ค่อยๆ ลดนมลงค่ะ

ของเรา 1 อาทิตย์ค่ะ กว่าจะกินอาหารเป็น
ถ้าเค้าเริ่มกินอาหาร เดี๋ยวเค้าก็จะอึจ้า


9. เสริมเรื่องอาหาร

- ไฟเบอร์เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับกระต่าย สำคัญกว่าวิตามินอีก
ถ้า เป็นไปได้ควรจะให้หญ้าขนสดทุกวัน แนะนำให้ล้างน้ำให้สะอาด อาจจะใช้ด่างทับทิมล้าง แต่ถ้าำไม่มีก็ใช้น้ำเปล่าค่ะ ล้างสารตกค้าง ไร ไข่แมลงออก

- หญ้าอัฟฟาฟ่า มีโปรตีนเยอะ (ไฟเบอร์ไม่เท่าหญ้าขน)
เหมาะกับกระต่ายเด็ก (ตั้งแต่หย่านม ถึง 6 เดือน ) เพราะเด็กต้องการโปรตีนในการเจริญเติบโต
เหมาะกับกระต่ายท้อง ช่วยบำรุง
1 วันให้แค่ 1 หยิบมือก็เพียงพอ 1 ถุง ประมาณ 199 บาท

- หญ้าทีโมที ไฟเบอร์เยอะมาก
เหมาะกับกระต่ายโต 6 เดือนขึ้นไป เปลี่ยนจากอัฟฟาฟ่า มาเป็นทีโมทีแทน กระต่ายโตต้องการไฟเบอร์มากๆ ช่วยระบบย่อย
เหมาะกับหาหญ้าขนให้กินทุกวันไม่ได้จริงๆ ก็แนะนำให้เสริมทีโมทีค่ะ 1 ถุง ประมาณ 199 บาท

- หญ้าแห้งแพงโกล่า ไฟเบอร์ไม่เยอะเท่าหญ้าขน แนะนำให้มีติดกรงไว้ตลอดค่ะ น้องจะได้เคี้ยวเล่น ลับฟันไปในตัว ถ้าอาหารหมด จะได้มีอะไรกินด้วย เป็นหญ้าที่ราคาถูกมั๊กๆ ถุงใหญ่สูงเกือบเท่าเข่า ราคาแค่ 60 บาทเอง กินได้ 3-6 เดือน

- อาหารเม็ด
ควรดูไฟเบอร์ด้วยว่ากี่เปอร์เซนต์ ยิ่งเยอะยิ่งดี กลางๆ ก็ 16% และไม่มีส่วนผสมของกระถิน ปลาป่น

* อาหารกระต่าย ดีที่สุดก็ OXBOW ไฟเบอร์เยอะมาก ราคาค่อนข้างสูงนิดนึง
เด็กสูตร A เหมาะกับกระต่าย หย่านมถึง 6 เดือน มีอัฟฟาฟ่าเยอะ เลยย่อว่า A 1 ถุง 2.25 กิโล 340 บาท
โตสูตร T เหมาะกับกระต่าย 6 เดือนขึ้นไป มีทีโมทีเยอะ เลยย่อว่า T 1 ถุง 2.25 กิโล 440 บาท
เป็นของดี แต่น้องกระต่ายส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบกิน แต่เดี๋ยวหิวเค้าก็กินเองแหละ

* อาหารถูกที่โอเคก็ Sun Rabbit ไม่มีกระถิน ปลาป่น 1 กิโล 20 บาท คุณภาพกลางๆ

* ยี่ห้อ CP ถุงสีชมพูไม่ค่อยแนะนำนะคะ อ้วนอย่างเดียว ไฟเบอร์น้อยมาก วิตามินก็ไม่มี
แต่น่าแปลก ไม่รู้ใส่กัญชามารึเปล่า อย่าได้เผลอให้ลูกกิน จะติดกันงอมแงม ไม่ยอมกินยี่ห้ออื่น
ของไม่มีประโยชน์ชอบกินจัง 1 ถุง 1 กิโล 45-65 บาท

* ไบร์เทอร์บันนี่ ถุงสีฟ้า เป็นของCP ไฟเบอร์กลางๆ ประมาณ 16% เค้าจะเน้นเสริมวิตามิน คุณภาพกลางๆ
สงสัยจะใส่กัญชาเหมือนกัน กระต่ายติดงอมแงม 1 ถุง 1 กิโล 90 บาท

* จริงๆ มีอีกหลายยี่ห้อค่ะ บางยี่ห้อก็ลดกลิ่นฉี่ ลดการเกิดก้อนขนในท้อง แล้วแต่คุณแม่ต้องการเสริมอะไร ก็เอาไปผสมกับยี่ห้ออื่นที่ไฟเบอร์เยอะนะคะ เพราะพวกนี้จะไฟเบอร์กลางๆ


****สำหรับคนงบน้อย แนะนำว่าอย่าซื้อแค่ยี่ห้อถูกๆ แต่ควรจะมียี่ห้อดีๆ ผสมไปด้วย เช่น
หลักๆ ก็ให้ Sun Rabbit แต่ควรซื้อOXBOW ผสมลงไปให้กินด้วย จะได้ประโยชน์มากกว่าซื้อยี่ห้อกลางๆ อีกนะคะ และเสริมหญ้าทุกวัน****




10. วิธีเปลี่ยนอาหารเม็ด แนะนำให้ค่อยๆ เปลี่ยนนะคะ ผสมใหม่ 1 ส่วน เก่า 10 ส่วนก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เปลี่ยนทันทีกระต่ายจะเครียด บางทีอาจท้องเสียเพราะปรับไม่ทันก็มีค่ะ







11. วิธีเลือกกรง แนะนำให้ซื้อดีๆ ค่ะ
เราเคยซื้อถูกๆ ไป กรงละ 200 บาท ที่ชุบสีๆ สีขาว ฟ้า ชมพู
ไอ้ พวกนั้นไม่ถึง 2 เดือน โดนแทะเรียบ ถ้าน้องกินก็อันตราย แรกๆ ก็จะรู้สึกว่ากรงใหญ่สำหรับน้อง ไม่ถึง 3 เดือนก็อยู่ไม่ได้แล้ว กระต่ายจะตัวโตเท่าแมวอ้วนๆ นะคะ บางตัวก็โตกว่านั้น

เรางก ซื้อแต่ถูกๆ ปรากฎว่าไม่ถึงปี เปลี่ยนกรงที่ 3 แล้ว พอโดนแทะแล้วสนิมมันขึ้นง่าย
ก็เลยซื้อดีๆ เลย กรงโครเมี่ยมดีมาก คอนเฟิร์ม

เราซื้อร้านป้า...(อยากรู้ถามหลังไมค์นะคะ) จตุจักรพลาซ่า โซน D ซอย 9
-โครเมี่ยมเบอร์ 3 --- 600 บาท กว้าง 42 cm ยาว 59 cm สูง 43 cm
-โครเมี่ยมเบอร์ 2 --- 900 บาท กว้าง 50 cm ยาว 76 cm สูง 60 cm
-สีระเบิดเบอร์ 3 --- 500 บาท
-สีระเบิดเบอร์ 2 --- 600 บาท

โครเมี่ยม กับ สีระเบิดเบอร์

1. ข้อดีโครเมี่ยม กับ สีระเบิดเบอร์ เด็กแทะไม่ได้
2. ถ้ากรงเปียก สนิมจะขึ้นง่าย ทุกครั้งที่ล้างต้องรีบเช็ดให้แห้ง จะทำให้สนิมขึ้นช้า
3. สีระเบิดหนักมั๊กๆ โครเมี่ยมเบากว่า โครเมี่ยมเบอร์ 3 ผู้หญิงหนัก 40 กิโลอย่างเราแบกขึ้นรถเมล์สบายๆ
4. โครเมี่ยมเป็นสนิมช้ากว่า
5. เบอร์ 2 ใหญ่กว่าเบอร์ 3
6. กระต่ายตัวเดียว อย่างน้อยต้องเบอร์ 3 กระต่าย 2 ตัว ต้องเบอร์ 2 ค่ะ
7. ถ้าอยากได้กรงไม่เป็นสนิมเลย ต้องสแตนเลส ที่เป็นกรงหมา เท่าที่รู้ราคา 5,000 บาท



12. วิธีเลือกน้องกระต่าย
**ถ้ากระต่ายตาปลือ เหมือนง่วงนอนตลอดเวลา เดินไม่แข็ง เหมือนจะนอนตลอด
แสดงว่าเป็นกระต่ายเด็ก ยังไม่หย่านม ไม่ควรซื้อ
**เอาน้องที่ดูแข็งแรง ซนๆ จับขึ้นมาแล้วเค้าถีบๆ เอาตัวนั้นล่ะจ้า แข็งแรงดี
ถ้าไม่ต่อต้าน อ่อนปวกเปียก --- ไม่ควรซื้อ ไม่แข็งแรง
**ก้นต้องไม่มีอึเละๆ ติดขน --- ถ้ามีแสดงว่าท้องเสีย
**ดูฟันด้วย ฟันต้องไม่เก ต้องยาวเท่ากัน --- ถ้ามีไม่ควรซื้อ เพราะต้องพาไปตัดฟันบ่อยๆ
**กระต่ายต้องไม่ขาแป ยืนได้ เดินได้ --- ถ้ามีไม่ควรซื้อ กระต่ายพิการเดินไม่ได้