วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษากระต่ายป่วยและโรคต่างๆ

การดูแลรักษากระต่ายป่วย
โรคภัยที่กระต่ายมักจะประสบกันมากต่าง ๆ และวิธีแก้ไขเบื้องต้น


1. โรคท้องเสีย สาเหตุของกระต่ายท้องเสียมีหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากที่พบก็คือ จากการกิน ในบางครั้งเจ้าของกระต่าย หาอาหารหรือนำผักผลไม้ที่อวบน้ำให้กระต่ายกินเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น แอปเปิ้ล แตงกวา บางครั้งให้กินเป็นจำนวนหลาย ๆ ลูก ซึ่งทำให้กระต่ายมีน้ำในท้องเยอะ ส่งผลให้กระต่ายท้องขึ้นและท้องเสีย และการดื่มน้ำดื่มไม่สะอาดพอ ตลอดจนสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย จากอากาศหนาวเย็นไปสู่อากาศร้อนฉับพลัน จะส่งผลให้กระต่ายถ่ายเหลว

- ลักษณะของอาการท้องเสีย กระต่ายจะนอนหมอบแบบหมดแรง และถ่ายเป็นน้ำ หรือในระยะแรกอึกระต่ายจะไม่ค่อยปั้นก้อนแข็งตัว เมื่อจับดูหรือกดก็จะพบว่า อึกระต่ายนิ่มมาก ๆ ถ้าเป็นอาการเริ่มต้นดังกล่าว ให้รีบนำผงเกลือแร่ชนิดซองที่ผสมให้คนดื่ม ผสมน้ำให้กระต่ายดื่ม เพราะกระต่ายจะเริ่มเสียน้ำมาก ๆ ทำให้กระต่ายอ่อนเพลีย และหยุดให้อาหารเม็ดทั้งสิ้น วางไว้เฉพาะหญ้าสดเท่านั้น และรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

- วิธีการรักษาแพทย์จะฉีดยาฆ่าเชื้อ และให้วิตามิน พร้อมกับยาฆ่าเชื้อมาให้ เจ้าของกระต่ายป้อนในปริมาณที่แพทย์กำหนด เช้า – เย็น (หรืออื่น ๆ ตามวินิจฉัยของแพทย์) 


2. โรคท้องอืด สาเหตุ เกิดจากการที่อาหารของกระต่ายกินเข้าไปแล้วกระต่ายไม่ถ่ายออกมา จนทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ และหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน จากอากาศร้อนจัด ๆ ไปอากาศหนาว จะทำให้ลักษณะของลำไส้และกระเพาะของกระต่าย หดรัดตัวไม่ย่อยอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องอืด

- ลักษณะอาการ กระต่ายที่มีอาการท้องอืด จะนอนนิ่ง ๆ ไม่ถ่าย นิ่งซึม ลักษณะคล้าย ๆ อาการของโรค Hair ball และไม่ยอมกินอะไร เมื่อจับบริเวณลำตัวจะพบว่า ท้องแข็ง และตัวพองกลม และตามลำตัวจะมีลักษณะสีเขียว ถ้าพบอาการลักษณะนี้ ให้พยายามเอาผงเกลือแร่ ผสมน้ำป้อนกระต่าย และรีบนำส่งแพทย์ด่วน

- วิธีการรักษาแพทย์จะทำการ ส่งเอ็กซ์เรย์ และฉีดยาฆ่าเชื้อ สวนทวารของกระต่าย ให้น้ำเกลือ และสังเกตการณ์หากเป็นมากก็อาจจะต้องรับตัวไว้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล อ่านเรื่องประกอบ จากลิงค์ อาการท้องอืดของต่อลาภ



3. โรคเชื้อรา สาเหตุเกิดจากความอับชื้น จากบริเวณที่เลี้ยง หรือ เชื้อที่ลอยมาตามอากาศ

- ลักษณะอาการจะมีอาการขนร่วง มากผิดปกติแบบไร้สาเหตุ หรือในบางตัวจะมีความเปียกชื้นบริเวณขนของกระต่ายที่มีขนยาว และมีสีเขียวเข้ม ๆ เป็นต้น กระต่ายจะเกา และถ้าร่วงมาก ๆ จนไม่มีขนบริเวณนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้ออื่นตามมาได้ ให้รีบนำส่งแพทย์

- การรักษา แพทย์จะทำการขูดบริเวณที่มีปัญหาขนร่วง หรือบริเวณที่มีสีเขียว บนขนกระต่าย ไปตรวจ หากเป็นเชื้อรา แพทย์จะให้ยากลุ่ม คีโตคูนาโซล ไม่ว่าจะเป็นแชมพู หรือ ครีม ให้ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง เพราะอาการของเชื้อรา เป็นการรักษาที่ต้องใช้การดูแลต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้นอาจจะต้องใช้ความอดทนเล็กน้อย

4. โรคกลาก เรื้อน สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ และการอักเสบ หรือติดเชื้อที่ลอยมาตามกระแสลมและมาเกาะบริเวณตัวกระต่าย และหรือในบางทฤษฎี บอกว่าเกิดจากพยาธิในตัวกระต่าย ที่แย่งอาหารต่าง ๆ ไปจนทำให้กระต่ายขาดสารอาหารและเป็นแผลตกสะเก็ด (ไม่ขอยืนยัน)

- ลักษณะอาการบริเวณใบหู จมูก หรือ เท้า จะมีลักษณะของการเป็นแผลตกสะเก็ด และกระต่ายจะเกาและคันมาก หากปล่อยไว้นาน ๆ อาการตกสะเก็ดจะลุกลามไปเรื่อย ๆ อาจจะส่งผลให้กระต่ายเสียชีวิตในเวลาต่อมา (อาการดังกล่าวคล้าย ๆ ขี้เรื้อนในสุนัข)

- การรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยเชื้อ และให้ครีมมาทา เช้า – เย็น และให้ยาฆ่าเชื้อมาป้อนประกอบกันเช้าและเย็น ต้องหมั่นและขยันทาครีม ตลอดจนป้อนยาอย่างต่อเนื่อง และแผลตกสะเก็ดจะแห้ง และเมื่อแผลแห้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณผิวหนังของกระต่ายบริเวณที่เป็นกลากหรือเรื้อน จะค่อย ๆ มีขนเข้าปกคลุมแต่อาจต้องใช้เวลาสักระยะ

5. Hair Ball สาเหตุเกิดจากการที่กระต่าย เลียขน (แต่งตัว) เข้าไปเป็นระยะเวลานาน ๆ แล้วไปสะสมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นบริเวณกระเพาะอาหารหรือบริเวณลำไส้ ทำให้กระต่ายไม่ถ่ายหรือถ่ายออกมาเป็นปริมาณที่น้อยมาก ๆ Hair Ball เป็นโรคที่พบได้ในกระต่ายทุกสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นขนสั้นหรือขนยาว

- ลักษณะอาการ ที่ควรหมั่นสังเกตุ อาการเบื้องต้นของกระต่ายที่มีลักษณะของโรคแฮร์บอล ให้สังเกตุที่อึของกระต่าย หากอึมีลักษณะของเส้นขนที่ร้อยอึออกมาด้วยลักษณะคล้าย ๆ สร้อยมุก ให้สันนิษฐานว่ากระต่ายมีอาการของโรคแฮร์บอล

- วิธีการรักษาเบื้องต้น ให้หาเจล Laxatone มาป้อนให้กระต่ายกิน ส่วนที่พอเหมาะ ประมาณ 1 CC ต่อ 1 กิโลกรัม หรืออาจจะมากกว่านั้นเล็กน้อย ป้อนเช้าและเย็น และสังเกตอาการว่ากระต่ายถ่ายออกมาได้มากขึ้นหรือไม่ ให้ป้อนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 – 5 วัน หรือ 1 สัปดาห์ แล้วหยุดป้อน และสังเกตอาการต่อหาก อึของกระต่ายที่มีเส้นขนร้อยออกมาหมดไป ก็ให้สบายใจได้ แต่ถ้ายังไม่หมด ถ้าต้องการความสบายใจให้รีบไปปรึกษาแพทย์ดีที่สุด
6.โรคหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ เช่น ลักษณะฟันยื่น

โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยเหลือหรือรักษาได้ตามอาการของกระต่ายที่เป็น เช่นกระต่ายฟันยื่น ก็สามารถพากระต่ายไปตัดฟันออกให้ฟันสบกันพอที่จะให้กระต่าย ไว้ใช้กัดแทะหรือบดเคี้ยวอาหารได้อย่างสะดวก ส่วนปัญหาคอเอียง หรือขาแป ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาทางพันธุกรรมหลัก ๆ เกิดจากการนำกระต่ายที่มีสายเลือดใกล้ชิดกัน เช่น ปู่ ย่า พ่อ แม่ พี่น้อง มาผสมพันธุ์กันเอง หรือก็เป็นปัญหาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาลักษณะผิดปกติดังเช่นที่ผ่านมาได้เช่นกัน


การป้องกันโรค
ทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุดได้แก่
1 เลือกชื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง
2 ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
3 หมั่นตรวจและสังเกตุลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วย ควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ส่าหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษและทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขี้น
4 ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคตื้อยาได้ 


7. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis) 
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ แตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้ 
1.1 หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์ 
1.2 ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที 
1.3 ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ 
การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย 
1.4 อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง 
1.5 มดลูกอัดเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง 




2.สแตฟฟิลโลคอคโคซีส(Staphylococcosis)โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcusaureus)ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้

  
2์.1 ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา 
การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน 

         2.2 เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์ 


2.3 ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า 
การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย 
3. โรคบิด (Coccidiosis) 
เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ 
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้ 
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium ) 

4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด 
อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก 
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน 

5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis)
เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้ 
การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ 

6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia)
เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล 

7. ไรในหู (ear mange or ear canker) 
เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) 
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้น ๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดี ๆ จพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น 
การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอ ๆ 

8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange) 
เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi 
อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู 
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู 

3 ความคิดเห็น:

  1. ทำยังไงดีค่ะกระต่ายตาบวมแดงมีขี้ตาสีขาว

    ตอบลบ
  2. กระต่ายลูกอัณฑะบวม ใหญ่โตผิดปกติ มีวิธีขั้นตอนการรักษายังไงบ้าง

    ตอบลบ
  3. Bet365 Casino New Jersey - MapYRO
    Bet365 Casino New Jersey is 충청북도 출장샵 a 오산 출장샵 convenient online sports 울산광역 출장안마 betting application. It 아산 출장안마 has a long history of online 울산광역 출장마사지 gambling in the state of New Jersey. Bet365 Casino is

    ตอบลบ